บทสวดมนต์
การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการสวดในสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้เพื่อไม่ให้ลืมในคำสอนนั้นๆ และทบทวนในสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้ว เพราะในครั้งพุทธกาลยังไม่มีพระไตรปิฏก จึงต้องใช้การท่องจำ หลังพุทธปรินิพพานมีการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 1 ก็ยังใช้การท่องจำสืบทอดต่อกันมา เรียกว่า "มุขปาฐะ"(หมายถึง การท่องด้วยปาก การกล่าวด้วยปาก การจดจำต่อเนื่องกันมาด้วยการสอนแบบปากต่อปาก) ดังนั้น จึงมีการคัดเอาคำสอนที่สำคัญมาสวดสาธยายกันอย่างเนืองนิตย์ คำสอนสำคัญเหล่านี้จึงกลายเป็นบทสวดมนต์ในที่สุด ในบางคราวพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาพาธได้มีพระภิกษุมาสาธยายพุทธมนต์ให้พระพุทธองค์ฟัง เช่น บทโพชฌงค์ 7 ทำให้พระองค์อาการอาพาธทุเลาลง ฉะนั้นบทสวดมนต์จึงมีอานุภาพมาก นับแต่นั้นมาทั้งพระภิกษุและฆราวาสก็สวดมนต์เรื่อยมาเพื่อเป็นการทบทวนคำสอนของพระพุทธเจ้า
บทสวดมนต์ประจำวัน
บทสวดมนต์เช้า
คำบูชาพระรัตนตรัย อิมินา สักกาเรนะ พุทธังอะภิปูชะยามิ อิมินา สักกาเรนะ ธัมมังอะภิปูชะยามิ อิมินา สักกาเรนะ สังฆังอะภิปูชะยามิ คำนมัสการพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมังนะมัสสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ) คำอาราธนาศีล 5 มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะสีลานิยาจามะ ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะสีลานิยาจามะ ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะสีลานิยาจามะ คำนมัสการพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 ครั้ง) บทสวดไตรสรณคมณ์ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ คำสมาทานศีล 5 ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ คำขอขมาพระรัตนตรัย สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต บทสวดมนต์สวดอิติปิโส อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูห ฮีติ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะ ปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ บทสวดแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง อะหัง สุขิโตโหมิ อะหัง นิททุกโขโหมิ อะหัง อะเวโรโหมิ อะหัง อัพยาปัชโฌโหมิ อะหัง อะนีโฆโหมิ สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ บทสวดแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ จากไป ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กัน และกันเลย อัพญาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียน ซึ่งกันและกันเลย อะนี ฆา โหนตุ จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัย ทั้งสิ้นนี้เทอญ
บทสวดมนต์ก่อนนอน
บทสวดมนต์ก่อนนอน นับเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เรามีความสุขขึ้นได้ โดยที่ในแต่ละวันเราต้องพบเจอกับเรื่องราวมากมาย ทั้งเรื่องที่ทำให้ชีวิตเป็นสุข ไปจนถึงเรื่องราวแย่ๆ ที่ทำให้ชีวิตวุ่นวาย เมื่อกลับถึงบ้านเราต่างก็ต้องการเวลาพักผ่อน อยากนอนหลับสบายเพื่อลืมเรื่องราวแย่ๆ การท่องบทสวดมนต์ก่อนนอนจะช่วยให้เรามีสมาธิ จิตใจสงบ ผ่องใส อีกทั้งยังเป็นการแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้ทำมาในแต่ละวันให้กับเพื่อนมนุษย์ หรือสรรพสัตว์ต่างๆ บนโลก เมื่อเรามีสมาธิ จิตใจเย็นลง จะทำให้เรานอนหลับสบาย ตื่นเช้ามาจะรู้สึกสดใส พร้อมที่จะสู้ไปกับงาน หรือการเรียนได้อย่างมีความสุข ซึ่งใน บทสวดมนต์ก่อนนอน นั้นไม่ว่าจะเป็นบทใดก็ตามล้วนแล้วแต่มีอานุภาในตัวเองอยู่มากมาย อีกทั้งยังแฝงไปด้วยข้อคิดดีๆ ที่จะเป็นหลักนำทางให้เราดำเนินชีวิตในทุกๆ วันไปได้อย่างราบรื่น ฉะนั้น การสวดมนต์ก่อนนอนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ยิ่งปฏิบัติทุกวันก็จะส่งผลที่ดีในเรื่องของสมาธิ ปัญญา ทำให้ใจของเราสามารถพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างละเอียด รอบคอบ และใจเย็นมากขึ้น เริ่มต้นบทสวดมนต์ก่อนนอน กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (3 ครั้ง) แล้วจึงเริ่มต้นกล่าวบทสวดตามปกติ คำบูชาพระ อิมินา สักกาเรนะ ตัง พุทธัง อะภิปูชะยามิ อิมินา สักกาเรนะ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ อิมินา สักกาเรนะ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ บทสวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ) บทสวดมนต์ นะโมสรรเสริญพระพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ บทสวดมนต์ อาราธนาศีล 5 มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ บทสวดมนต์ ไตรสรณคมน์ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ บทสวดมนต์ สมาทานศีล 5 ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ บทสวดมนต์ อธิษฐานรักษาศีล 5 ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจะขอรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ดังเดิม บทสวดมนต์ก่อนนอน ศีล 5 อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (กล่าว 3 จบ) บทสวดมนต์ แผ่เมตตาแก่ตนเอง กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์ อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์การทุกข์ใจ สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด บทสวดมนต์ แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด บทสวดมนต์ บทแผ่ส่วนกุศล อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
บทสวดมนต์ประจำวันเกิด
ผู้เกิดวันอาทิตย์ พระประจำวันเกิดคือ พระปางถวายเนตร บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์ สวดวันละ 6 จบ จะมีความรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตังตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปะภาสัง ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเมเตเม นะโมเต จะมังปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา มะโมวิ มุตตานัง มะโมวิมุตติยา อิมังโส ปะริต ตังกัตะวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโสตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติงเย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ผู้เกิดวันจันทร์ พระประจำวันเกิดคือ พระปางห้ามญาติ หรือห้ามสมุทร บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันจันทร์ สวดวันละ 15 จบ จะมีความสุข ความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ ผู้เกิดวันอังคาร พระประจำวันเกิดคือ พระปางไสยาสน์ บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอังคาร สวดวันละ 8 จบ จะเกิดผลดี ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา คะณะนา นะ จะ มุตตานัง ปะริตันตัมภะณามะ เห ฯ ผู้เกิดวันพุธ (กลางวัน) พระประจำวันเกิดคือ พระปางอุ้มบาตร บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางวัน) สวดวันละ 17 จบจะมีความสุขสวัสดียิ่ง ๆ ขึ้นไป สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ ผู้เกิดวันพุธ (กลางคืน) พระประจำวันเกิดคือ พระปางมารวิชัย, พระป่าเลไลย์ บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางคืน) สวดวันละ 12 จบ จะมีความเจริญสุขสวัสดี กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต ติฏฐะสีติ สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธาคาถาภิคิโตมหิ โนเจ มุญเจยะ จันทิมันติ ผู้เกิดวันพฤหัสบดี พระประจำวันเกิดคือ พระปางนั่งขัดสมาธิ บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพฤหัสบดี สวดวันละ 19 จบ จะมีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง ยัสสะ เตเชนะ ทาวัคคิ มะหาสัตตัง วิวัชชะยิ เถรัสสะ สารีปุตตัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ ผู้เกิดวันศุกร์ พระประจำวันเกิดคือ พระปางทรงรำพึง บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันศุกร์ สวดวันละ 21 จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ ผู้เกิดวันเสาร์ มีพระประจำวันเกิดคือ พระปางนาคปรก บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันเสาร์ สวดวันละ 10 จบ จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลตลอดกาลนาน ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ
บทสวดมนต์บูชาท้าวเวสสุวรรณ
คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ
ท่องนะโม 3 จบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสสะ
คาถาท้าวเวสสุวรรณ ฉบับเต็ม
อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ
คาถาท้าวเวสสุวรรณ ฉบับย่อ
ท่องนะโม 3 จบแล้วกล่าว
อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
(สวด 3, 7 หรือ 9 จบ)
วิธีบูชาท้าวเวสสุวรรณที่บ้าน
-
ควรบูชาช่วงเช้าทุกวันพฤหัสบดี หรือทุกวันพระ (แต่ถ้าไม่สะดวกจะเป็นวันไหนก็ได้หรือจะสวดทุกวันอย่างสม่ำเสมอได้ยิ่งดี) และก่อนทำพิธีไหว้ควรอาบน้ำและแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
-
ถวายเครื่องสักการะ อาทิ น้ำเปล่าและผลไม้มงคล ได้แก่ ส้ม กล้วย สับปะรด จากนั้นทำการสวดสมาทานศีล 5 บทบูชาพระรัตนตรัย
-
จุดธูป 9 ดอก พร้อมดอกกุหลาบ 9 ดอก พนมมือและตั้งนะโม 3 จบ ก่อนสวดบทบูชาท้าวเวสสุวรรณ
-
ส่วนใหญ่นิยมท่องบทสวดแบบย่อ 9 จบ เพื่อความเป็นสิริมงคล เชื่อว่าจะช่วยเสริมเรื่องโชคลาภ ความเจริญก้าวหน้าให้กับชีวิต